เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงศัตรูพืชโดยครอบคลุมเข้าทำลายแมลงในหลายๆชนิด ซึ่งเป็นแมลงในอันดับ Homoptera Lepidoptera Coleoptera และ Diptera ในอันดับนี้จะเป็นแมลงจำพวกตระกูลเพลี้ยทุก
เช่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ รวมถึง บั่ว ที่ทำลายช่อและยอดกล้วยไม้ (ค่อนข้างดื้อยาฆ่าแมลง)หนอนทุกชนิด หนอนห่อใบ หนอนเจาะช่อ หนอนเจาะดอก หนอนผีเสื้อ หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนหนังเหนียว และแมลงที่เป็นศัตรูพืชเช่น แมลงค่อมทอง ไรแดง ไรขาว แมลงหวี่ขาว ในจำนวนนี้รวมถึงด้วง แมลงวัน และยุง นอกจากนี้ยังมีการรายงานเพิ่มเติมว่าสามารถที่จำกัดมดปลวกได้ด้วย ซึ่งลักษณะการเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอร์เรียนั้นจะเป็นลักษณะการเข้าอาศัยและกินเศษซากที่ผุพัง เมื่อแมลงหรือหนอนสัมผัสกับสปอร์ของเชื้อราในสภาพความชื้นที่เหมาะสม (ความงามชื้นสัมพัธ 50-80%) อุณหภูมิอยู่ที่ 20-27 องศาเซลเซียส โดยเส้นใยของเชื้อจะแทรกแทงทะลุผิวและช่องว่างของเปลือกหรือผิวหนังแมลงหรือหนอน ขยายตัวโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงหรือหนอนเป็นอาหาร เจริญเติบโตจนกระทั่งแมลงหรือหนอนตายไปในที่สุด โดยทั่วไปแมลงหรือหนอนจะตายภายใน 2-5 วัน ขึ้นกับขนาดและจำนวนของแมลงหรือหนอนซึ่งหลังจากการโดนสัมผัสเชื้อไปครั้งแรกแมลงหรือหนอนจะเริ่มป่วย หยุดกินอาหาร กัดกินใบพืชหรือดูดน้ำเลี้ยงพืชไม่ได้ จนกระทั้งเป็นอัมพาตและตายในที่สุด โดยลักษณะของเส้นใยที่และสปอร์มีสีขาวหรือสีครีมซีดที่บริเวณลำตัวของแมลงหรือหนอน
ลักษณะและการกำจัดแมลงของเชื้อราบิวเวอเรีย
อาการของแมลงที่ติดเชื้อ
1. เบื่ออาหาร กินอาหารน้อยลง อ่อนแอ และไม่เคลื่อนไหว
2. ผนังล าตัวตรงที่เชื้อท าลายปรากฏจุดสีด า
3. มีเส้นใยและผงสีขาวปกคลุมล าตัว
การติดเชื้อโรคของแมลงจะเป็นไปด้วยดี รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ หรือไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้
1. ส่วนต่างๆ ของอวัยวะแมลงที่ไวต่อการติดเชื้อรา เช่น บริเวณเนื้อเยื่อบางๆ ระหว่ากะโหลก
ศีรษะ ปล้องอก ปล้องต่างๆในส่วนท้อง ขา และหนวด เป็นตน และแมลงบางชนิดจุดอ่อนอยู่ที่ปากหรือส่วนก้น
2. การเจริญและการงอกของเชื้อรา การงอกของเชื้อราขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม เช่น เชื้อราเขียวจะเจริญและงอกได้ดีบนผิวหนังของหนอนด้วงแรดที่อุณหภูมิประมาณ 27 – 28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศประมาณ 90% แต่จะไม่เจริญเลยในสภาพอากาศแห้งแล้ง
3. การแทงทะลุของเส้นใยผ่านผิวหนังชั้นต่างๆ ของแมลง เส้นใยของเชื้อราจะแทงทะลุ ผ่า ผิวหนังของแมลงหลังจากการงอก พร้อมทั้งสร้างสารเอนไซม์ไคติเนส (Chitinase) ไปย่อยสลายโปรตีนและ Chitin ในผิวหนังแมลงทำให้เกิดช่องว่างและประกอบกับมีแรงดันเป็นกลไกที่ทำให้เส้นใยสามารถแทรกเข้าไปในเนื้อเยื่อ แล้วเข้าไปขยายจำนวนและแพร่กระจายไปในเลือดได้ต่อไป
4. ความสัมพันธ์ระหว่างการติดโรคและการลอกคราบ การติดโรคของแมลงจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนของเชื้อราที่เข้าไปขยายในเส้นเลือด ถ้าเชื้อรางอก และแทงทะลุเข้าไปได้เพียงผิวหนังชั้นนอก และตรงกับช่วงที่แมลงมีการลอกคราบ เชื้อราก็จะหลุดติดไปกับคราบออกไปจากตัวแมลง การติดเชื้อโรคราแมลงก็จะไม่เกิดขึ้น แต่หากเชื้อรางอกแทงทะลุและชอนไชผ่านเข้าไปถึงผิวหนังชั้นในและมีการลอกคราบเกิดขึ้น หลังจากแมลงลอกคราบแล้วเชื้อราก็ยังคงอยู่และสามารถชอนไชเข้าสู่เส้นเลือดไปขยายเพิ่มจำนวน และแพร่กระจายไปทั่วตัวแมลงทำให้แมลงมีโอกาสตายด้วยการติดเชื้อราได้ ดังนั้น พอจะกล่าวได้ว่าแมลงที่เกิดโรคราขึ้นนั้น จะต้องอยู่ในสภาพที่อ่อนแอโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงต่อเนื่องระหว่างการลอกคราบ และสภาพที่เหมาะเฉพาะเจาะจงในส่วนของผิวหนัง ช่องว่างภายในลำตัวของแมลงที่สัมผัสโดยตรงกับเชื้อรา รวมถึงจำนวนปริมาณของเชื้อราที่มากพอและสภาพสิ่งแวดล้อมจากอุณหภูมิ ความชื้น ทั้งภายในและภายนอกลำตัวแมลงเหมาะสมทำให้เชื้อราเจริญเติบโตขยายปริมาณเพิ่มขึ้นจนทำให้แมลงตายได้ในที่สุด
การผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย
1. เตรียมวัสดุเลี้ยงเชื้อ
เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถเจริญเติบโตได้ดีบนเมล็ดธัญพืชทุกชนิด แต่เมล็ดธัญพืชที่ เหมาะสมที่สุดคือ เมล็ดข้าวโพด เพราะมีขนาดใหญ่ ทำให้มีช่องว่างมาก เมล็ดข้าวโพดที่จะนำมาใช้ต้องไม่เป็นเมล็ดที่คลุกสารเคมี หรือสารกำจัดเชื้อรา การเตรียมเมล็ดข้าวโพดสำหรับเลี้ยงเชื้อราบิวเวอร์เรียทำได้โดย นำเมล็ดข้าวโพดมาล้างให้สะอาด แล้ว
• ทำให้เมล็ดอุ้มน้ำด้วยการแช่เมล็ดไว้ 1 คืน (หรือใช้วิธีต้มประมาณ 30 นาที)
• นำมาพึ่งให้หมาดน้ำ (ให้ผิวแห้ง)
• นำมากรอกใส่ถุง (ถุงเพาะเห็ด : ถุงทนความร้อนชนิดขยายข้าง ขนาด 6 ? 12 นิ้ว) ถุงละประมาณ 4 – 5 ขีด (หรือสูงประมาณ 4 นิ้ว ) สวมปากถุงด้วยคอขวด ลึกประมาณ 3 นิ้ว แล้วพับปากถุงลง อุดด้วยสำลี หรือขี้ฝ้าย แล้วหุ้มปากถุงด้วยกระดาษ รัดด้วยยางวง
2. นึ่งฆ่าเชื้อ
เมื่อเตรียมถุงเมล็ดข้าวโพดเสร็จแล้วให้นำไปนึ่ง เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุง
• ถ้าใช้หม้อนึ่งความดัน ใช้ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว อุณหภูมิ 121 องศา เซลเซียส ใช้เวลานึ่ง 30 นาที
• กรณีใช้หม้อนึ่งลูกทุ่ง (ทำจากถังแกลอน) ใช้เวลานึ่งอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นับ จากน้ำเดือด หลังจากนึ่งเสร็จแล้วนำมาวางทิ้งไว้รอให้เย็น แล้วแกะกระดาษที่หุ้มปากถุงออก
3. การเขี่ยเชื้อ
4. การบ่มเชื้อ
นำถุงเมล็ดข้าวโพดที่ใส่เชื้อแล้ว ไปวางไว้ในสภาพอากาศปกติ อากาศถ่ายเทได้ มีแสงสว่างปกติ แต่ไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง เชื้อจะเจริญเติบโตจนเต็มเมล็ดข้าวโพด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ เมื่อเชื้อเดินเต็มแล้วก็นำไปใช้ได้
การเก็บรักษาเมื่อเชื้อเดินเต็มแล้ว ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น จะทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้น
วิธีการใช้เชื้อราบิวเวอเรีย
1. นำไปฉีดพ่นในแปลงที่สำรวจพบเพลี้ยหรือหนอน โดยฉีดพ่นให้ถูกหรือสัมผัสตัวแมลงศัตรูเป้าหมายในช่วงที่มีความชื้นสูง เช่นเวลาตอนเช้าหรือตอนเย็น ที่มีแสงแดดอ่อนๆ
2. ควรปรับหัวฉีดให้พ่นฝอยละเอียดจะฉีดได้ผลดีและได้พื้นที่มากขึ้น
3. สามารถตรวจสอบผลการการควบคุมศัตรูพืชได้ หลังจากใช้เชื้อราบิวเวอเรียไปแล้ว 2-3 วัน
ข้อแนะนำในการใช้
1. ให้น้ำกับแปลงพืชที่จะควบคุมศัตรูพืชประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนทำการพ่นเชื้อราบิวเวอเรีย
2. นำเชื้อราไปฉีดพ่นเพื่อควบคุมศัตรูพืชโดยต้อง
- พ่นให้ถูกตัวแมลงศัตรูพืช หรือบริเวณที่แมลงศัตรูพืชเกาะหรืออาศัยให้มากที่สุด
- ช่วงระยะเวลาพ่นควรเป็นช่วงที่แมลงศัตรูพืชออกหากิน หรือเวลาเย็น โดยมีสภาพแวดล้อมที่ มีความเหมาะสมต่อการงอก และการเจริญเติบโตของเชื้อรา คือมีความชื้นสูงและแสงแดดอ่อนๆ
3. ให้น้ำกับแปลงพืชในวันรุ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความชื้น
4. สำรวจแปลงพืช ถ้ายังพบศัตรูพืชเป้าหมายให้พ่นเชื้อราบิวเวอเรียซ้ำ
สปอร์งอก (germ tube) แทงทะลุผ่านผนัง หรือช่องว่างบนล าตัว โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อของแมลงที่มีผนังบาง เส้นใยของเชื้อราจะเข้าสู่เนื้อเยื่อของแมลง โดยอาศัยน้ าย่อยต่าง ๆ
-ไลเปส (Lipase)
-โปรติเนส (Proteinase)
-ไคติเนส (Chitinase)
ข้อเด่น เชื้อราขาวมีความจําเพาะสูงในการทําให้เกิดโรคกับแมลงเฉพาะชนิดจึงเป็นการควบคุม
แมลงที่ดีและเป็นที่ต้องการของเกษตรกร เพราะทําลายเฉพาะแมลงเป้าหมายเท่านั้น และยังมีความ
ปลอดภัยต่อเกษตรผู้ใช้และผู้บริโภคไม่มีพิษตกค้างที่จะเป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม
เชื้อราขาวใช้ได้ง่ายวิธีการใช้ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ใช้ได้กับเครื่องมืออุปกรณ์ทั่วๆไป ที่ใช้ฉีดพ่นสาร
ต่างๆ ทางการเกษตรและสามารถใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชร่วมกับวิธีอื่นๆได้ สามารถลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เพราะการฉีดพ่นเพียง 2 ครั้งก็ทำให้แมลงศัตรูพืชหยุดระบาดได้ และ ไม่ทำให้แมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ดื้อยา
ข้อด้อย เชื้อราขาวทําให้แมลงตายช้าไม่รวดเร็วเหมือนสารเคมีเพราะเชื้อราขาวนั้น ไม่ว่าจะทํา
อันตรายกับแมลงด้วยการสร้างสารพิษ หรือเข้าไปเจริญแย่งอาหารในตัวแมลงก็ต้องอาศัยระยะเวลาหนึ่งในการทําให้แมลงตายซึ่งอาจจะไม่ทันกับความต้องการเกษตรกร ที่คุ้นเคยกับการใช้สารเคมีที่ออกฤทธิ์เร็ว ทําให้แมลงตายได้ทันที ข้อจำกัดอื่นในการใช้ควบคุมศัตรูพืช ความร้อน ความชื้น มีผลกระทบต่อการงอก การอยู่รอด ความคงทนของเชื้อรา และประสิทธิภาพการควบคุมศัตรูพืช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น